วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กฎหมายครอบครัวน่ารู้

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักของชาติ ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ สามี ภรรยา บุตร ญาติ พี่น้อง  จึงเป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในครอบครัวหรือเครือญาติ ดังนั้น หลักกฏหมายที่ใช้โดยทั่วไปอาจนำมาใช้กับกฏหมายครอบครัวไม่ได้ กฏหมายครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่อ้างอิงหลักศีลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด 

การหมั้น

การหมั้น  การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้ แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว

     ผู้ เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ กล่าวคือ เมื่อหมั้นกันแล้วฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับไม่ได้ แต่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้
  กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อมีการหมั้นกันก่อน ฉะนั้นชายหญิงอาจทำการสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นก็ได้
              ของหมั้น  เป็น ทรัพย์สินของฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรส กับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
          สินสอด  เป็น ทรัพย์สินของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤิตการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจ สมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้


การผิดสัญญาหมั้น

ถ้า ชาย หรือหญิงคู่หมั้นไม่ทำการสมรสกัน โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ถือว่าคู่หมั้นนั้นผิดสัญญาหมั้นฝ่ายคู่หมั้นที่ผิดสัญญาต้องรับผิดจ่ายค่า ทดแทน (ม.1439)คู่สัญญาหมั้น ไม่ใช่แค่ชายและหญิงคู่หมั้น

ค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้นได้แก่ (ม.1440)

1. ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายของอีกฝ่ายหนึ่ง

2. ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงของอีกฝ่ายหนึ่ง

3. ค่าทดแทนความเสียหายในการที่ได้ใช้จ่าย หรือ ต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร

4. ค่าทดแทนความเสียหายในกรณีที่ได้จัดการทรัพย์สินด้วยความคาดหมายว่าจะได้สมรส

5. ค่าทดแทนความเสียหายในการที่ได้จัดการด้านต่างๆ เกี่ยวกับ อาชีพ หรือทางทำมาหาได้ ด้วยคาดหมายว่าจะได้สมรส

กรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้น แก่ฝ่ายชายด้วย

ค่าทดแทนในกรณีเสมือนผิดสัญญาหมั้น

ในกรณีบอกเลิกเพราะคู่หมั้นกระทำชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งได้กระทำภายหลังจากการหมั้น
ค่าทดแทนในกรณีที่มีเหตุอื่นใดในทางประเวณีเกิดขึ้นกับหญิงคู่หมั้น (ม.1445)

1. ชายคู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยรู้ หรือควรรู้ว่าหญิงนั้นได้หมั้นแล้วกับตน ชายคู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนได้ต่อเมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้น

2. ชายคู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่ได้ข่มขืน หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรากับหญิงคู่หมั้น หากชายอื่นได้รู้หรือควรรู้แล้ว่าหญิงนั้นได้หมั้นแล้ว โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น
ความระงับสิ้นแห่งสัญญาหมั้น

1. ความตายของคู่หมั้น

2. การเลิกสัญญาหมั้นโดยสมัครใจ
ภาย หลังการหมั้นคู่หมั้นอาจตกลงเลิกสัญญาหมั้นต่อกันได้โดยตกลงเลิกสัญญาหมั้น ด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งเมื่อเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับสู่ ฐานะเดิมเหมือนไม่เคยได้ทำการหมั้นต่อกัน โดยฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย ทั้งนี้เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น

3. บอกเลิกสัญญาหมั้นโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย

1. เหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น (ไม่ถือว่าผิดสัญญาหมั้น)
เหตุ สำคัญต้องถึงขนาดที่ชายหรือหญิงไม่สมควรสมรสกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่คำนึงว่าจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใด ไม่คำนึงว่าเหตุสำคัญจะเกิดก่อนหรือหลังการหมั้น

2. เหตุอันเกิดเพราะคู่หมั้นกระทำชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งได้กระทำภายหลังจากการหมั้น โดยกฎหมายถือเสมือนว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้น

3. กรณีเหตุอื่นใดในทางประเวณีกับหญิงคู่หมั้น

การเรียกค่าทดแทน ของหมั้นและสินสอดและอายุความ

กรณีคู่หมั้นตาย

ถ้า คู่หมั้นฝ่ายใดตายก่อนสมรสไม่ว่ากรณีใด ะไม่ถือว่าผิดสัญญาหมั้นดังนั้นคู่หมั้นอีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทน นอกจากนี้หากบุคคลที่ตายนั้นเป็นหญิงคู่หมั้น คู่สัญญาหมั้นฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกของหมั้น และสินสอดคืน


กรณีผิดสัญญา หรือเสมือนว่าผิดสัญญาหมั้น

การเรียกค่าทดแทนอันเนื่องมาการผิดสัญญาหมั้น หรือเสมือนว่าผิดสัญญาหมั้นมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันผิดสัญญา

อายุความในการที่การเรียกร้องของหมั้นคืนมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันผิดสัญญา ส่วนการเรียกคืนสินสอดมีอายุความ 10 ปี นับวันผิด

สัญญา

กรณีบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยสมัครใจ

ใน กรณีที่สัญญาหมั้นได้เลิกลงโดยความสมัครใจของคู่หมั้น แต่ละฝ่ายจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ โดยหญิงคู่หมั้นต้องคืนของหมั้น และสินสอด ยกเว้นแต่จะได้มีการตกลงเป็นอย่างอื่น(สงวนสิทธิในการเรียกค่าทดแทน และไม่คืนของหมั้นและสินสอด) โดยอายุความในการเรียกคืนของหมั้นและสินสอดมีอายุความ 10 ปี

กรณีบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยกฎหมาย

ใน กรณีที่สัญญาหมั้นระงับโดยการบอกเลิกสัญญาหมั้นอายุความในการเรียกค่าทดแทน มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันรู้เหตุแห่งการบอกเลิก แต่อย่างไรแล้วต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ

ในกรณีที่ การบอกเลิกสัญญาหมั้นเกิดจากเหตุสำคัญอันเกิดจากหญิงคู่หมั้น อายุความในการเรียกคืนของหมั้นมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันเลิกสัญญา และ การเรียกคืนสินสอดมีอายุความ 10 ปี นับวันเลิกสัญญา


การสมรส
 
การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกล จริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดีจะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้

หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
(1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้

การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วย กัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้

  
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา  ถ้า สามีภริยาได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินไว้เป็นพิเศษอย่างไรก็ให้เป็น ไปตามนั้น ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็น สินส่วนตัวย่อมเป็น สินสมรส
                สินส่วนตัว  ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1)    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2)    ที่ เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3)    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4)    ที่เป็นของหมั้น
สินส่วนตัวของฝ่ายใดถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นซื้อทรัพย์สินอื่นมาหรือขายได้เป็นเงินมา ทรัพย์สินอื่น
หรือเงินนั้นเป็นส่วนตัวของฝ่ายนั้น สินส่วนตัวของฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
                สินสมรส  ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1)    ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2)    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบถว่าเป็นสินสมรส
(3)    ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส


ตารางแสดงทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา


ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

สินส่วนตัว
สินสมรส

1.ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

1.ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส

2.ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา

2.ทรัพย์สิน ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดย พินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส



3.ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น (เป็นของภริยา)

3.ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

4.ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานอกจากที่ได้แยกไว้เป็น สินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส



การสิ้นสุดแห่งการสมรส     

การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือให้หย่า
                ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หมายความว่า การสมรสตกเป็นโมฆียะ เช่น คู่สมรสอายุไม่ครบ 17 ปีบ ริบูรณ์ ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือสำคัญผิดในตัวคู่ สมรสถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะและเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสนั้นก็สิ้นสุด ลง
                การหย่า  การ หย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นตัวหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน และจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว

แต่งงานเป็นเรื่องมงคล หลายคนจึงแต่งงานหลายครั้ง แต่ก่อนที่จะแต่งงานครั้งต่อไป จะต้องเคลียร์การแต่งงานครั้งก่อนเสมอ
ไม่เช่นนั้นบ้านเก่าบ้านใหม่อาจให้โทษได้

สำหรับกฎหมายแล้ว การแต่งงาน หมายถึง การจดทะเบียนสมรส  การแต่งงานในลักษณะอื่นไม่ได้รับการรับรองทางกฎหมาย
ให้เกิดสถานะสามีภรรยาต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการยกขันหมากแห่รอบหมู่บ้านหรือจัดงานพิธีใหญ่โต กฎหมายไม่ให้สิทธิเรียกร้อง
อย่างสามีภรรยาหากมีการแต่งงานกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้ามีการจดทะเบียนแล้วเป็นได้เรื่อง

คนเราอาจมีทะเบียนสมรสหลายใบกับใครหลายคนได้ แต่จะมีในเวลาเดียวกันไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็เข้าข่ายที่เรียกว่าจดทะเบียน
สมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายไม่จัดอันดับเบอร์หนึ่งเบอร์สองให้ใครเป็นรองใคร แต่ใช้หลักมาก่อนมีสิทธิก่อน

และการมาก่อนนี้ต้องเป็นการมาถึงนายทะเบียนก่อน หากมาอยู่กินเสียก่อนแล้วมัวรอฤกษ์จดทะเบียนหรืออิดเอื้อนเล่นตัวก็อาจได้
เลิกรากัน ถ้าเขาหรือเธอไปแอบจดทะเบียนกับคนอื่น คนมาหลังแต่ถึงที่หมายก่อนก็ได้สิทธิไปเพระใบทะเบียนสมรสนั่นเอง

การจตทะเบียนซ้อนกฎหมายให้เป็นโฆษะไปเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องร้องให้ศาลสั่งว่าการสมรสรายหลังเป็นโฆษะ ก็คือ
การสมรสซ้อนเป็นอันเสียเปล่า ไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนที่ว่าจะรู้ไหมว่าซ้อนอย่างไรก็ไม่ต้องวิตกจริตเกินไป ทางการเขาให้ไป
ตรวจได้ที่สำนักงานทะเบียนราษฎรเพราะถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

แม้การสมรสซ้อนจะเป็นโฆษะโดยผลของกฎหมาย แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้จดแต้งแทงรายการไว้ในทะเบียน ก็จะไปใช้ยันต่อบุคคล
ภายนอกไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการทางทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่เช่นนั้นเกิดคู่โมฆะไปทำนิติกรรมหรือตัดการอะไรไปก็ไม่
สามารถอ้างความเป็นโมฆะไปทำนิติกรรมหรือจัดการอะไรไปก็ไม่สามารถอ้างความเป็นโมฆะยันกับคนนอกวงการได้

เรื่องทะเบียนซ้อนแบบนี้ไม่ใช่ผู้ชายจะนิยมเท่านั้น หญิงไทยก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งก็น่าเห็นใจคู่ที่ไม่ได้รักกันแล้ว
ไม่อยู่ด้วยกันก็มี แต่ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมจดทะเบียนหย่า เพราะหวงก้างไว้ไม่อยากให้ใครมาได้ตำแหน่ง ทั้งที่ตัวก็ไม่ได้อยากอยู่กับ
เขาหรือเธออีกต่อไป ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอยากหย่า เพราะต้องการไปจดทะเบียนสมรสกับอีกคนหนึ่งเดือดร้อน รอไม่ไหว
จึงตัดสินใจจดซ้อนไปเลย

นอกจากความเป็นโมฆะแล้ว อาจมีเรื่องอื่นตามมาเป็นผลข้างเคียงแต่ยิ่งใหญ่ เมื่อเจ้าของทะเบียนใบแรกแจ้งให้ใบหลังทราบว่า
มีคู่สมรสรายเดียวกันแล้ว หากรายหลังยังทำเฉย อาจถูกเรียกค่าเสียหายจากการไปสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยาของเขาได้ ส่วนผู้รัก
การสะสมทะเบียนสมรสในขณะเดียวกัน นอกจากจะมีเรื่องกับคู่สมรสทั้งสองแล้ว อาจได้คดีอาญามาประดับประวัติอีกด้วย เพราะ
ทะเบียนสมรสเป็นเอกสารทางราชการ การจดทะเบียนก็ทำกับนายทะเบียน การปิดบังความจริงหรือปดกับเจ้าหน้าที่ ทั้งๆที่รู้อยู่
แก่ใจว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าให้ข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่

 ทางแก้ของผู้ที่พลาดไปแล้ว ก็คือ เริ่มใหม่หมด มีหลายรายที่ใช้วิธีจดทะเบียนหย่ากับคนก่อนเพื่อให้มีทะเบียนสมรสใบเดียวกับ
คนหลัง อย่างนี้ไม่มีผล เพราะทะเบียนสมรสที่ซ้อนนั้นเป็นโมฆะแต่แรกแล้ว ดังนั้น เมื่อหย่ากับคนก่อนแล้วก็ต้องย้อนมาจดกับ
คนใหม่ จะใช้ทะเบียนเดิมไม่ได้ ถ้าจะให้ดีก็พากันไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเสียเลย

การแต่งงานเป็นเรื่องของคนสองคน แต่ถ้าใครไปทำให้เป็นเรื่องของหลายคนแล้ว เรื่องง่ายๆ ก็กลายเป็นยากเพราะอยากมี
ทะเบียนสมรสนั่นเอง


การจดทะเบียนรับรองบุตร
 
ในระหว่างการสมรส สามีภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายและมีบุตรด้วยกันถือว่า บุตรผู้นั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของบิดา แต่หากไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันถือว่าบุตรที่เกิดนั้นเป็นบุตรนอกสมรส หรือหากบิดาไม่ปรากฏ บุตรนั้นมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของมารดา ซึ่งโดยกฎหมายจะถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของมารดาเสมอ
บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามที่กฏหมายกำหนดไว้ดังนี้
  • เมื่อบิดามารดาจดทะเบียนกันภายหลัง
  • บิดาได้ให้การจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร
  • เมื่อศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ในการจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น บิดามารดาและบุตรจะต้องไปที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือสำนักงาน ถ้ามารดาและบุตรไม่ได้ไปด้วย นายทะเบียนผู้รับจดจะแจ้งไปยังฝ่ายที่ไม่มา เพื่อให้มาให้ความยินยอมหรือคัดค้านการขอจดทะเบียนนั้น ถ้าพ้น 60 วัน นับแต่วันแจ้งความของนายทะเบียนไปถึงถือว่าไม่มีการคัดค้าน นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนให้ ถ้ามารดาและบุตรอยู่ต่างประเทศก็จะขยายเวลาไปเป็น 180 วัน เมื่อบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว บุตรนั้นย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา นับแต่วันที่จดทะเบียนนั้นไป

บุตรบุญธรรม  ผู้ประสงค์จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด  คือ  อายุ 25 ปีบริบูรณ์และแก่กว่าเด็กอย่างน้อย  15 ปี  จะต้องรับความยินยอมจากบิดา-มารดาของเด็ก  และจากตัวเด็กเอง (ถ้าอายุครบ 15 ปีแล้ว)  รวมทั้งจากคู่สมรสทั้งผู้รับและผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม  จากผู้ดูแลสถานสงเคราะห์ (หากเป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้งอยู่ในสถานสงเคราะห์)  และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  ต้องผ่านการทดลองเลี้ยงดู  6 เดือน  เพื่อดูว่าเข้ากับครอบครัวใหม่ได้หรือไม่  โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ไปเยี่ยมอย่างน้อย  3 ครั้ง  และต้องจดทะเบียน
ผู้ปกครอง
เหตุในการตั้งผู้ปกครอง
ใน กรณีที่บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่มีบิดามารดา(ทั้งคู่) หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง(ทั้งคู่) จะจัดให้มีผู้ปกครองในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้ (ม.1585) เพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาในการให้ความอุปการะเลี้ยงดูทั้งในเรื่องการเป็น อยู่และการจัดการทรัพย์สิน โดยผู้ปกครองนั้นมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียวเท่านั้น ยกเว้นแต่ศาลเห็นว่าจำเป็นหรือพินัยกรรมระบุไว้เป็นอย่างอื่นก็อาจจะตั้ง หลายคนได้ (ม.1590)

มรดก  

หากเป็นมรดกตกทอด  ทายาทที่จะได้รับ  คือทายาทโดยธรรม  และทายาทตามพินัยกรรมถ้า ผู้ตายทำพินัยกรรมสั่งไว้ว่ายกทรัพย์ชิ้นใดให้แก่ใคร  ผู้นั้นก็มีสิทธิ์รับทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม  แต่หากผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  ทรัพย์มรดกจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม  ซึ่งมี  6 ลำดับ  ได้แก่  บุตร  ถ้าบุตรคนใดตายก่อน  หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรจะรับแทน  ถัดมาคือ  บิดา  มารดา  พี่น้องร่วมบิดา  หรือร่วมมารดาเดียวกัน  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ลุง ป้า  น้า  อา


 อ้างอิง:สื่ออิเล็กทรอนิกส์

  • เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวการหมั้น .สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2554,จาก http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2011
  •  เรื่องกฏหมายครอบครัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2554,จากhttp://www.kullawat.net/civic/5.4.htm 
  • กฎหมายที่ผู้หญิงควรรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2554,http://www.formumandme.com/article.php?a=992
  • กฏหมายครอบครัวที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2554,http://lawtolaw.blogspot.com/2009/04/blog-post.html

  • รู้ไว้ก่อนแต่งงาน.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2554,http://www.klothailand.com/weddinglaw.htm#%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99